หลักสูตร
หลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรปริญญาโท
หลักสูตรปริญญาเอก
เอกสารเผยแพร่
ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แบ่งสายงานออกเป็น 14 สาขาวิชา ได้แก่
อนุกรมวิธานของแมลง
(Systematic Entomology)
ศึกษาและวิจัยการจำแนกชนิด การจัดหมวดหมู่ และชีวิทยาของแมลง การเก็บรักษาตัวอย่างแมลงและการจัดการพิพิธภัณฑ์แมลง
สัณฐานวิทยาของแมลง
(Insect Morphology)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการวิภาคและหน้าที่ของอวัยวะ หรือโครงสร้างต่างๆ ของแมลง วิวัฒนาการของแมลง การเจริญเติบโต และการปรับตัวของแมลง
กีฏวิทยาอุตสาหกรรม
(Industrial Entomology)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมสาขาย่อยที่เกี่ยวข้องคือ การเลี้ยงไหม (Sericulture) และการเลี้ยงผึ้ง (Apiculture) นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึง ครั่ง แมลงผสมเกสร และการจัดการผลิตผลต่าง ๆ จากแมลงในทางอุตสาหกรรม
กีฏวิทยาทางการแพทย์และสัตวแพทย์
(Medical and Veterinary
Entomology)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลง แมงเห็บ และไร ที่มีความสำคัญทางการแพท์และสัตวแพทย์ การนำโรคมาสู่มนุษย์และสัตว์ และการป้องกันจำกัด
กีฏวิทยาป่าไม้
(Forest Entomology)
ศึกษาและวิจัยด้านแมลงที่เป็นศัตรูทำลายต้นไม้ สวนป่า หรือป่าไม้ รวมทั้งการควบคุมศัตรูเหล่านี้
พิษวิทยาและสรีรวิทยาของแมลง
(Insect Toxicology and
Insect Physiology)
พิษวิทยาของแมลงเป็นการศึกษาวิจัยสมบัติและชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปฏิกิริยาทางการเกิดพิษในแมลง ความเป็นพิษต่อแมลงและสัตว์อื่นๆและผลกระทบของสารกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมนุษย์และสัตว์ สรีวิทยาของแมลงเป็นการศึกษาวิจัยถึงระบบต่างๆ ในร่างกายแมลง และหน้าที่ของระบบนั้นๆ รวมทั้งชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยาของแมลง
แมลงศัตรูผลิตผลในโรงเก็บ
(Stored Product Insects)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงและไรที่เป็นศัตรูทำลายผลิตผลทางการเกษตรหลังเก็บเกี่ยว การป้องกันกำจัด และการจัดการผลิตผลทางการเกษตร
แมลงพาหะนำโรคมาสู่พืช
(Insect Vectors of Plant Diseases)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่พืชกระบวนการแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำโรค และความสัมพันธ์ของแมลงกับพืชที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรค
นิเวศวิทยาของแมลงและการจัดการศัตรูพืช
(Insect Ecology and Integrated
Pest Management)
ศึกษาวิจัยถึงปัจจัยต่างๆ ในสภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการแพร่ระบาดของแมลง ศึกษาวิจัยแนวทางในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน
โรควิทยาของแมลง
(Insect Pathology)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์และกระบวนการเกิดโรคกับแมลง รวมทั้งการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในการควบคุมแมลง
การควบคุมแมลงโดยชีววิธี
(Biological Control)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูธรรมชาติของแมลง และวัชพืชและแนวทางการใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืช
กีฏวิทยาชุมชน
(Urban Entomology)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงและสิ่งมีชีวิตใกล้เคียงแมลงที่เป็นศัตรูในชุมชนบ้านเรือนที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม การควบคุมการป้องกันการแพร่ระบาด
วิทยาเห็บไร
(Acarology)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการวินิจฉัยชนิดของไรและเห็บ ชีววิทยาสัณฐานวิทยา และนิเวศวิทยาของไรและเห็บ รวมทั้งการป้องกันกำจัด
ชีววิทยาแมลงผสมเกสร
(Pollination Biology)
ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงผสมเกสรและแนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิต