หลักสูตร ภาควิชากีฏวิทยา
ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แบ่งสายงานออกเป็น 14 สาขาวิชา ได้แก่
1. อนุกรมวิธานของแมลง (Systematic Entomology) ศึกษาและวิจัยการจำแนกชนิด การจัดหมวดหมู่ และชีววิทยาของแมลง การเก็บรักษาตัวอย่างแมลงและการจัดการพิพิธภัณฑ์แมลง
2. สัณฐานวิทยาของแมลง (Insect Morphology) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับกายวิภาคและหน้าที่ของอวัยวะหรือโครงสร้างต่าง ๆ ของแมลง วิวัฒนาการของแมลง การเจริญเติบโต และการปรับตัวของแมลง
3. กีฏวิทยาอุตสาหกรรม (Industrial Entomology) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม สาขาย่อยที่เกี่ยวข้องคือ การเลี้ยงไหม (Sericulture) และการเลี้ยงผึ้ง (Apiculture) นอกจากนี้ยังครอบคลุมถึง ครั่ง แมลงผสมเกสร และการจัดการผลิตผลต่าง ๆ จากแมลงในทางอุตสาหกรรม
4. กีฏวิทยาทางการแพทย์และสัตวแพทย์ (Medical and Veterinary Entomology) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลง แมง เห็บ และไร ที่มีความสำคัญทางการแพทย์และสัตวแพทย์ การนำโรคมาสู่มนุษย์และสัตว์ และการป้องกันกำจัด
5. กีฏวิทยาป่าไม้ (Forest Entomology) ศึกษาและวิจัยด้านแมลงที่เป็นศัตรูทำลายต้นไม้ สวนป่า หรือป่าไม้ รวมทั้งการควบคุมศัตรูเหล่านี้
6. พิษวิทยาและสรีรวิทยาของแมลง (Insect Toxicology and Insect Physiology) พิษวิทยาของแมลงเป็นการศึกษาวิจัยสมบัติและชนิดของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปฏิกิริยาการเกิดพิษในแมลง ความเป็นพิษต่อแมลงและสัตว์อื่น ๆ และผลกระทบของสารกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อมนุษย์และสัตว์ สรีรวิทยาของแมลงเป็นการศึกษาวิจัยถึงระบบต่าง ๆ ในร่างกายแมลง และหน้าที่ของระบบนั้น ๆ รวมทั้งชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับสรีรวิทยาของแมลง
7. แมลงศัตรูผลิตผลในโรงเก็บ (Stored Product Insects) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงและไรที่เป็นศัตรูทำลายผลิตผลทางการเกษตรหลังเก็บเกี่ยว การป้องกันกำจัด และการจัดการผลิตผลทางการเกษตร
8. แมลงพาหะนำโรคมาสู่พืช (Insect Vectors of Plant Diseases) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่พืช กระบวนการแพร่กระจายของเชื้อโรค ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำโรค และความสัมพันธ์ของแมลงกับพืชที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรค
9. นิเวศวิทยาของแมลงและการจัดการศัตรูพืช (Insect Ecology and Integrated Pest Management) ศึกษาวิจัยถึงปัจจัยต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการแพร่ระบาดของแมลง ศึกษาวิจัยแนวทางในการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน
10. โรควิทยาของแมลง (Insect Pathology) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์และกระบวนการเกิดโรคกับแมลง รวมทั้งการนำจุลินทรีย์ไปใช้ในการควบคุมแมลง
11. การควบคุมแมลงโดยชีววิธี (Biological Control) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูธรรมชาติของแมลงและวัชพืช และแนวทางการใช้ประโยชน์ในการควบคุมศัตรูพืช
12. กีฏวิทยาชุมชน (Urban Entomology) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงและสิ่งมีชีวิตใกล้เคียงแมลงที่เป็นศัตรูในชุมชน บ้านเรือนที่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม การควบคุมและการป้องกันการแพร่ระบาด
13. วิทยาเห็บไร (Acarology) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการวินิจฉัยชนิดของไรและเห็บ ชีววิทยาสัณฐานวิทยา และนิเวศวิทยาของไรและเห็บ รวมทั้งการป้องกันกำจัด
14. ชีววิทยาแมลงผสมเกสร (Pollination Biology) ศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแมลงผสมเกสรและแนวทางจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิต
ปรัชญา และปณิธาน
ร่วมกันทำงานสู่ความเป็นเลิศทางกีฏวิทยา เพื่อการพัฒนาประเทศ
วิสัยทัศน์
เป็นผู้นำในการผลิตบัณฑิตด้านกีฏวิทยาทุกระดับที่มีคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรม พัฒนางานวิจัยที่เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร และประเทศชาติโดยรวม ให้บริการทางวิชาการด้านกีฏวิทยาแก่สังคม
วัตถุประสงค์
ภาควิชากีฏวิทยา มีวัตถุประสงค์หลัก ดังนี้
ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร 0-2942-8350, 0-2561-3478 แฟกซ์ 0-2561-4882 |
Thanks for your visit.
|